อัลไซเมอร์ โรคสมองที่ยังไม่ยารักษา และทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป

อัลไซเมอร์ โรคสมองที่ยังไม่ยารักษา และทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป

อัลไซเมอร์ โรคสมองที่ยังไม่ยารักษา และทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป

เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะอยู่ได้นาน 8-10 ปี

โรคอัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อม (dementia syndrome) นั้นมีความแตกต่างกัน

ซึ่งการเข้าใจความแตกต่างจะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจการวินิจฉัยของแพทย์ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง กลุ่มอาการผิดปกติที่เป็นผลมาจากการเสื่อมของสมองหลายส่วนซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามสาเหตุ ได้แก่ 

  • ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ พบประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด โดยสาเหตุมักเกิดจากโรคทางกาย เช่น หลอดเลือดสมองตีบตัน เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองบางชนิด การขาดวิตามินบี12 และโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
  • ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด พบมากถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม และมีโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุถึงร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือเป็นโรคที่ทำให้สมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์อีก 5-6 โรค  

ดังนั้น อัลไซเมอร์จึงเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด 

เช็ก 10 สัญญาณเตือนเสี่ยงอัลไซเมอร์

 

สิ่งที่ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วย และผู้สูงอายุ เฮือนฮ้องขวัญ ใส่ใจเป็นพิเศษ คือ การดูแลแบบองค์รวม (Holistic Care) ซึ่งผู้ป่วยทุกรายจะมีการทำกิจกรรมบำบัดและกิจกรรมจิตบำบัด เพื่อให้ฟื้นฟูจิตใจให้เข้มแข็ง มีกำลังใจรักษาร่างกายต่อไป



โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยหลัก มีดังนี้
1. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
2. โรคอัลไซเมอร์
3. ผู้ป่วยติดเตียง
4. การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้